แม้เรื่องของการคอร์รัปชันจะเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เยาวชนต้องการให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนในประเทศไทย
รวมถึงเยาวชนอยากขอให้ผู้นำประเทศซื่อสัตย์
แต่กลับพบว่าเยาวชนจำนวนมากมีพฤติกรรมทุจริตเสียเอง
จากงานวิจัย “คนไทยมอนิเตอร์ 2557 : เสียงเยาวชนไทย” สำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี จำนวน 4,000 คนทั่วประเทศ เกี่ยวกับ “พฤติกรรมทุจริต”
จากงานวิจัย “คนไทยมอนิเตอร์ 2557 : เสียงเยาวชนไทย” สำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี จำนวน 4,000 คนทั่วประเทศ เกี่ยวกับ “พฤติกรรมทุจริต”
พบเยาวชนในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 81
มีพฤติกรรมการทุจริตโดยให้เพื่อนลอกข้อสอบหรือลอกข้อสอบเพื่อน
ร้อยละ
63 มีพฤติกรรมเซ็นชื่อเข้าเรียนแทนเพื่อน
ร้อยละ 38 ซื้อหรือใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
ร้อยละ 18 ให้เงินตำรวจเพื่อหลีกเลี่ยงใบสั่ง
ร้อยละ 6 มีพฤติกรรมให้สินบน
ร้อยละ 5 มีพฤติกรรมรับสินบน
ร้อยละ 2 ซื้อสิทธิ์ขายเสียง
โดยพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มมากขึ้นเมื่อเยาวชนโตขึ้นหรืออยู่ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
เนื่องจากสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น ยังผลให้ทัศนคติต่อพฤติกรรมต่างๆ
สาเหตุการทุจริต
1. เกิดจากความโลภ
(Greed) 1.1 เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ขาดหลักยึดด้านคุณธรรมจนกลายเป็นคนที่เห็นแก่ได้
มีความอยากและความไม่รู้จักเพียงพอ 1.2 การขาดปทัสฐาน (Norm)
ของความเป็นบุคคลสาธารณะ ( Publice persons) ที่ต้องยึดหลักความเป็นกลางและความเป็นธรรมเป็นที่ตั้งซึ่งเป็นอุดมการณ์ของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐสมัยใหม่
2. เกิดจากมีโอกาส
2.1 การขาดความรู้ ความเข้าใจผิด หรือถูกใช้
2.2ความเคยชินของเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยกับการที่จะได้ ค่าน้ำร้อนน้ำชา
2.3การถูกบังคับให้รับตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
2.4อาศัยช่องว่างของระเบียบและตามกฎหมาย
2.5ไม่ปฎิบัติตามกฎและระเบียบ
2.6การทุจริตตามระบบ (Systemic) ด้านงบประมาณการเงินการคลังและการจัดซื้อจัดจ้าง
2.7เกิดจากการใช้อำนาจ บารมี อิทธิพลหรือตำแหน่งหน้าที่ราชการที่มีอำนาจในการวินิจฉัย
2.8โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองที่อ่อนแอ
2.9โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการผูกขาดกลุ่มทุนขนาดใหญ่
2.10โครงสร้างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นแบบอุปถัมภ์ค่านิยมที่ยกย่องคนมีฐานะร่ำรวย
3. เกิดจากการขาดจริยธรรม
(Ethics)
3.1การขาดคุณธรรม จริยธรรม
3.2การขาดเจตนาจำนงที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมืองในการแก้ไขปัญหาและภาคการเมืองขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง
4.เกิดจากการประเมินความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษ
(Risk)
4.1การขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็งขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคประชาชนรวมถึงการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ
4.2ขาดการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ
4.3ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเบื่อหน่าย วางเฉย ไม่มีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมการใช้
บทลงโทษการทุจริตในการสอบ โทษการทุจริตในการสอบ
หรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบจะได้รับโทษ ดังนี้
❶
ติด F ในรายวิชาที่สอบ❷ ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองเพื่อรับทราบ
❸ บันทึกลงในสมุดประวัตินักศึกษาทุจริตหรือ
❹ พิจารณาโทษทางวินัยขั้นร้ายแรง เช่น ให้พักการเรียน หรือให้ออก
วิธีการแก้ปัญหา
1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสำนักงาน
2.สร้างความแข็งแรงให้กับระบบตรวจสอบ
3.สร้างความเข้าใจการทุจริตคอร์รัปชันและติดตามความเคลื่อนไหว
4.เสริมสร้างจริยธรรมระดับบุคคลและระดับองค์กร
5.ส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม
6.เสริมสร้างความโปร่งใสของปัจเจกบุคคล
7.ส่งเสริมภาคประชาสังคมในการป้องกันและปราบปราม
8.เสริมสร้างปทัสถานที่ดีให้กับบุคคล
9.สร้างกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการป้องกันและปราบปราม
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาและการนำไปใช้
1. ความซื่อสัตย์สุจริต
(Honesty and Integrity)
การดำเนินชีวิตในสังคมนั้นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นไม่ว่าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ดังนั้น การที่เราจะมีความซื่อสัตย์สุจริตนั้นเราจะต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถูกต้องและเห็นโทษของการไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่าจะส่งผลต่อตนเองและสังคม
2.กระทำอย่างรับผิดชอบ
(Responsibility and Accountability) ในทุกสังคมประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลที่แตกต่างหลากหลายตามบทบาทและหน้าที่ต่างๆที่เหมือนกันบ้างและต่างกันบ้างสมาชิกทุกคนจะต้องเข้าใจความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนเองและบุคคลต่างๆ รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆอย่างมีความรับผิดชอบพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบได้ มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์กติกาอย่างมีวินัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น